6 ม.ค. 2551

โครงการพระราชดำริ




“ปางอุ๋ง” แหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดอันดับ 1
จากข้อมูลที่เคยทราบและจากคำบอกเล่า เขาบอกว่า “ปางอุ๋ง” จ.แม่ฮ่องสอน ถูกจัดว่า เป็นเหมือนนิวซีแลนด์ หรือสวิสเซอร์แลนด์ ของเมืองไทยจริง ๆ หรือ... ??? ระหว่างที่กำลังค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ บังเอิญเข้าไปเจอ “ปางอุ๋ง” จึงเข้าไปดู เผื่อว่า มีโอกาสได้ไปเยือนถิ่นนี้... จะได้แวะเข้าไปเยี่ยมกับเขาบ้าง เจอภาพสวยขนาดนี้ก็เลยเอามาฝากเป็นข้อมูล โดยเฉพาะเส้นทางและการเดินทางที่ดูน่าสนใจ ท้าทายความสนุกสนานมาก ๆ เชื่อว่า การท่องเที่ยวแบบผจญภัย รถสภาพเจ๋ง ๆ หน่อยนะครับ น่าไปเชียวล่ะ บอกตรง ๆ ว่า ไม่เคยไปที่นี่จริง ๆ ถ้าใคร ๆ ประสบการณ์เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
หมู่บ้านรวมไทย เป็นหมู่บ้านโครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) ในพระบรมราชินูปถัมป์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ อ. เมือง จ. แม่ฮ่องสอน
ลักษณะพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นแนวสนที่ปลูกเรียงรายอย่างกลมกลืน
ยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำเป็นลำแสงสีทองผ่านแนวสนเขียวขจี งดงามจนถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่สวยที่สุดในเมืองไทย เปรียบได้กับ นิวซีแลนด์เมืองไทย
และเมื่อได้สัมผัสกับแปลงพันธ์ไม้เมืองหนาวหลากสีสันที่ปลูกประดับในโครงการ ฯ ซึ่งเปรียบเสมือนกับ สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย
การเดินทาง - (กรุงเทพ-ฮอด) จากกรุงเทพ เดินทางผ่าน อยุธยา-นครสวรรค์-ตาก ถึง อ.ลี้ แยกซ้ายเข้าอำเภอ เดินทางต่อไปยังเส้น ลี้-บ้านโฮ่ง ก่อนถึง อ.บ้านโฮ่ง สังเกตุป้าย จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปดอยเต่า เลี้ยวซ้ายจากนั้นก็วิ่งตามป้ายจนถึงฮอด ถึงสุดทางซึ่งจะเป็นสามแยกรูปตัว T ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 200 เมตร จะเป็นวงเวียน เลี้ยวซ้ายที่วงเวียนก็จะเข้าสู่เส้นทาง ฮอด - แม่ฮ่องสอน
(ฮอด-แม่ฮ่องสอน) - จากฮอด วิ่งไปเรื่อย ๆ ตามทางสายหลัก ผ่าน อ.แม่สะเรียง, อ.แม่ลาน้อย, อ.ขุนยวม ก็จะถึงจ จ. แม่ฮ่องสอน เส้นทางจาก ฮอด-แม่ฮ่องสอน คดเคี้ยวขึ้นเขา 1,864 โค้ง ใครไม่ชำนาญการขับรถ ขึ้น-ลงเขา ไม่แนะนำให้ขับรถไป แต่หากต้องการขับไปจริง ๆ ก็เผื่อเวลาสำหรับการเดินทางอีก 20% และขับให้ช้าสักนิดเพื่อความปลอดภัย
(แม่ฮ่องสอน-ปางอุ๋ง) - ออกจากเมืองแม่ฮ่องสอนไปตามเส้นทาง แม่ฮ่องสอน-ปางมะผ้า-ปาย ไปสัก 10 กม. จะมีป้ายบอกว่าเลี้ยวซ้ายไป บ้านรวมไทย น้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง ซึ่งอยู่บนเส้นทางเดียวกัน เดินทางขึ้นไปเรื่อย ๆ ผ่านน้ำตกผาเสื่อ ผ่านพระตำหนักปางตอง สังเกตุทางแยกซ้ายมือ จะมีป้ายเล็ก ๆ เขียนบอกว่าไป "บ้านรวมไทย" ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปเรื่อยๆ จนถึงหมู่บ้านห้วยมะเขือส้ม ซึ่งจะมีทางแยกรูปตัว T เลี้ยวขวาตรงแยก ตรงไปเรื่อย ๆ ก็จะถึง บ้านรวมไทย หรือ “ปางอุ๋ง” ที่เหมือนกับว่า ...เมื่อเรามองจากฟากหนึ่งเป็นนิวซีแลนด์ และอีกฝั่งหนึ่งเป็นสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับเส้นทางจากแม่ฮ่องสอน -ปางอุ๋ง นอกจากเส้นทางจะคดโค้ง ขึ้นเขาชันจัด ๆ และถนนแคบมาก ๆ แล้ว ยังมีหมอกเป็นอุปสรรคอีกด้วย ควรเดินทางในช่วงกลางวันจะปลอดภัยมากกว่า
กรณีที่ไม่ได้ขับรถไปเอง - นั่งรถทัวร์ กทม.-แม่ฮ่องสอน จากนั้นก็ไปที่หน้าตลาด ถามหาคิวรถปางอุ๋ง ซึ่งมีขึ้น-ลง วันละ 2 เที่ยว ในตอนเช้า และ บ่าย จากนั้นก็นั่งรถไปถึงปางอุ๋งได้เลย
หมายเหตุ... ข้อมูลและภาพจาก www.Ezytrip.com ซึ่งระบุว่า “ปางอุ๋ง” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชมมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ถึง 154,523 ท่าน, รองลงมาคือ ปาย , ดอยอ่างขาง ,ห้วยน้ำดัง, ภูชี้ฟ้า ,ดอยแม่สลอง, วัดร่องขุน, ภูกระดึง และดอยแม่อูคอ เป็นต้น

สวัสดีครับ..... ?????

การตีผึ้ง




...... " หัวน้ำผึ้ง " สุดยอดของฝากจากป่า..........
...... ต้นยางใหญ่ ขนาด 3-4 คนโอบ สูงเกือบ 30 เมตร ต้นหนึ่ง ตามกิ่งก้านสาขาของไม้ใหญ่ต้นนี้ มีผึ้งป่ามาทำรัง ประมาณ 20 รัง โดยเริ่มจับรังแรก เรียกว่า " รังประตู " และจะทำรังไปเรื่อยๆจนถึงรังสุดท้ายอยู่บนสุด เรียกว่า " รังดาดฟ้า " และปฏิบัติการณ์ "ตีผึ้ง " ได้เริ่มขึ้นในคืนหนึ่งที่มืดสนิท เข้าหน้าแล้งเต็มที่ หลังจากฝนได้ทิ้งช่วงมากว่า 1 เดือนแ
ล้ว......
.... หมอตีผึ้ง และ ผู้ช่วย เตรียมพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการตีผึ้ง..
...... น้ำผึ้งปีนี้คงจะดีมากเพราะไม่มีน้ำฝนมาเจือปน เนื่องจากแล้งจัดมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผึ้งงาน ต้องบินไปหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ตามป่าเขาที่ห่างไกล นับร้อยนับพันชนิด ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ มาเก็บรวมไว้ที่ " หัวน้ำ หรือ หัวน้ำผึ้ง " บนสุดของรังที่ติดกับกิ่งไม่ เพื่อไว้เป็นอาหารให้แก่ตัวอ่อน ที่ซุกตัวอยู่ในรังเตรียมตัวเติบใหญ่เป็นผึ้งงาน ขยายเผ่าพันธุ์ผึ้งป่า ตามวัฐจักรผึ้งต่อไป.......
... เริ่มปีนขึ้นไปบนต้นไม้ตาม"ลูกทอย" ที่เตรียมไว้ตอนกลางวัน...
....... การตีผึ้ง จะใช้คนประมาณ 4-5 คน เท่านั้น (ส่วนที่เหลือไปดูเพราะอยากรู้อยากเห็น ซึ่งรวมผมอยู่ด้วย) โดยแต่ละคนจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ คนขึ้นตีผึ้ง หรือ หมอตีผึ้ง บนต้นไม้ 2 คน คนหนึ่งตี อีกคนหนึ่งเก็บรังผึ้งใส่ภาชนะที่เตรียมขึ้นไปด้วย แล้ว หย่อนเชือกลงมาให้ คนรับน้ำผึ้ง 1 คน ส่วนคนปั้นน้ำผึ้งแยกออกจากรังหรือขี้ผึ้ง ซึ่งจะใช้คนประมาณ 1-2 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของ น้ำผึ้งที่ตีได้ในแต่ละครั้ง........
.... เริ่มเข้าตี...
...รังที่อยู่ปลายกิ่ง เวลาตี ต้องใช้ความระมัดระวัง...
........ ก่อน" ตีผึ้ง" หมอตีผึ้ง ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งร่างกาย จิตใจ เริ่มจากทำพิธี บวงสรวงเจ้าที่ เจ้าทาง ที่โคนต้นไม้ โดยนำธุป เทียน พร้อม อาหารซึ่งประกอบด้วยข้าวสวย และปลามีหัวมีหาง(ปลาทั้งตัว) มาทำพิธีขอขมา ก่อนปีนขึ้นไปบนต้นไม้ตาม ลูกทอย ( ท่อนไม้สดยาวประมาณ 1 ศอก ตอกตะปูไว้กับต้นไม้ใช้สำหรับเหยีบขึ้นไป ) ที่ทำไว้ตั้งแต่ตอนกลางวัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ คือ ไม้ตีผึ้ง ซึ่งทำจากเปลือกไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ภาษาถิ่นใต้ เรียก " ไม้หมูร" ( ภาษากลางเรียกอะไรก็ไม่รู้) คุณสมบัติพิเศษของเปลือกไม้ชนิดนี้ คือเวลาจุดไฟจะไม่ติดเป็นเปลวไฟ เป็นแค่ประกายไฟและควันเท่านั้น จึงเหมาะสำหรับนำมาเป็นอุปกรณ์หลักในการ ตีผึ้งเป็นอย่างยิ่ง
...........
........ นี่ก็เช่นกัน....
........ ขณะตีประกายไฟจะร่วงลงสู่พื้นดินและฝูงผึ้งจะบินตามลงมาด้วย...
................... เวลาตีผึ้ง คนตี จะจุดไฟที่ไม้หมูร และ นำไปลูบที่ด้านข้างของรัง ที่ผึ้งจับอยู่เต็มไปหมดทั้งสองข้าง ขณะนั้นประกายไฟจะร่วงลงสู่ด้านล่าง ตัวผึ้งงานจะสำคัญผิดคิดว่ารังของมันร่วงลงพื้นดิน มันก็จะแห่บินกันลงมาตามประกายไฟด้านล่างหมดเหลือแต่รังผึ้งเปล่าๆขาวโพลน ทีนี้คนตีผึ้ง จะใช้ไม้หมูร ตีที่รังผึ้งให้หลุดออกจากหัวน้ำผึ้ง แล้วใช้มีดปาดหัวน้ำผึ้งใส่ภาชนะที่เตรียมขึ้นไป หย่อนลงมากับเชือก ให้คนรับข้างล่าง พร้อมเก็บรังผึ้งที่ร่วงลงมาครั้งแรก รีบน้ำไปให้ คนปั้นน้ำผึ้งที่คอยอยู่โดยเร็ว........
....... ที่เห็นเป็นจุดสีดำๆ ..นะ รังผึ้งทั้งน้านนนน....
..... เมื่อฝูงผึ้งแตกกระจายตามประกายไฟลงไป.. ก็จะเห็นแต่รังผึ้งที่ขาวโพลน...
......... สำหรับคนปั้นหัวน้ำผึ้งนั้นต้องรีบปั้นโดยรีบด่วน เพื่อ แยก น้ำผึ้ง ออก จาก ขี้ผึ้ง เพราะ หากทิ้งไว้นาน น้ำผึ้งที่ได้ จะมีรสชาติขม และต้องมีความชำนาญในการปั้น มือต้องแข็งแรง จะต้องไม่ให้น้ำผึ่ง เหลืออยู่ในขี้ผึ้ง แม้แต่หยดเดียว.......กว่าจะหมดในแต่ละครั้ง มือและนิ้วของคนปั้นจะบวมเป่ง เนื่องจากพิษเหล็กในของผึ้ง ที่ติดมาด้ว
ย......
.... รังผึ้งที่อาศัยของตัวอ่อน และ หัวน้ำผึ้งถูกนำมารวกันในภาชนะ ที่เตรียมไว้..
.... แยกหัวน้ำผึ้งออกจากรังผึ้ง...
.............. การตีผึ้งในแต่ละครั้ง คนตีผึ้ง หรือ หมอตีผึ้ง จะเหลือรังผึ้งเอาไว้ 1-2 รัง เพื่อให้ผึ้งได้ขยายพันธุ์ต่อไป และ มีคนเข้าใจผิดว่าการตีผึ้งเป็นการทำลายผึ้งป่าให้สูญพันธุ์ แท้ที่จริงเป็นการตอบแทนทางธรรมชาติเสียมากกว่า ในเมื่อเรารักษาป่า ป่าก็ให้คุณแก่เรา เพราะ ถ้าหากเป็นการทำลายวงจรชีวิตผึ้งจริงๆแล้ว ไฉนเลยที่ ผึ้งจะกลับมาทำรังที่เดิมอีกในปีต่อๆไป .................................................................................
... บีบหัวน้ำผึ้ง กากที่เหลือจะกลายเป็นขี้ผึ้ง......
...... เก็บน้ำผึ้งไม่ให้เหลือ แม้แต่หยดเดียว..
........ น้ำผึ้งที่มีคุณภาพดี จะเก็บไว้ได้นาน มีสรรพคุณทางโภชนาการ สูง สามารถเป็นส่วนผสมเข้ากับ ยาสมุนไพรพื้นบ้านได้แทบทุกชนิด เป็นของฝากที่นำมาซึ่งความประทับใจทั้งผู้ให้และผู้รับ จนมีคำพังเพยเปรียบเทียบ ถึงหนุ่มสาวที่รักกันใหม่ๆ ว่า " หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า " ...........

ภุมิปัญญาท้องถิ่น



ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน ยาสมุนไพร
เรื่อง ยาบำรุงร่างกาย
1. ชื่อบุคคล/แหล่งภูมิปัญญา นายพิชัย ติดหล้า
1.1 ที่อยู่/ที่ตั้งภูมิปัญญา บ้านท่าดอกแก้ว 27 หมู่ที่ 5 ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม1.2 ประวัติความเป็นมา/องค์ความรู้ของภูมิปัญญาคนในสมัยก่อนทำงานหนัก ทำให้มีความปวดเมื่อยไม่กระปรี้กระเปร่า จึงได้คิดค้นยาสมุนไพรขึ้นมาใช้ คือ ยาบำรุงร่างกาย เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายมีแรงกระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าเดิม1.3 ความสำคัญ/ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายมีความสดชื่น แข็งแรงเมื่อรับประทานควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย และลดค่าใช้จ่ายในการหาซื้อยามารับประทาน1.4 ขั้นตอน/วิธีการถ่ายทอดความรู้
วัสดุอุปกรณ์ส่วนประกอบ ขมิ้นชัน บอระเพชร แห้วหมู น้ำผึ้ง
วิธีทำ1. นำขมิ้นชัน บอระเพชร แห้วหมู ไปล้างแล้วตากให้แห้งถึง 7 วัน 7 คืน2. เมื่อแห้งแล้วนำไปบดให้ละเอียด3. นำไปผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ แล้วนำไปตากแดด4. เก็บใส่กล่อง กระปุก หรือถุงพลาสติก
1.5 บุคคล/หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ารับความรู้ครูและนักเรียน